ประวัติส่วนตัว
นางสาวโชติภัค นครเอี่ยม
ผู้เข้ารับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1.1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร
จัดทำแผนการสอนเรื่องคำวิเศษณ์ มีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทโดยการแก้ปัญหาภาวะถดถอยด้านการแต่งประโยคที่มีส่วนขยายของผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
1.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้
ข้าพเจ้าได้ศึกษา
เพื่อนำไปบูรณาการจัดการเรียนการสอน ด้านจิตพิสัย คุณธรรม ด้านทักษะการคิด และด้านทักษะกระบวนการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะที่สำคัญ
1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ จัดการเรียนรู้และโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบใช้กิจกรรมเป็นฐาน และชี้แนะให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนตามบริบทของสถานศึกษา
สร้างแรงบันดาลใจ
(ทบทวนประสบการณ์)
ครูกระตุ้นโดยใช้คำถาม มีภาพประกอบคำถาม
ชี้แจงจุดประสงค์ ภาระงานหรือชิ้นงาน
สร้างทักษะการคิดขั้นสูง
(ขั้นกิจกรรม ขั้นสะท้อนความคิด)
มีการแบ่งกลุ่ม / จับคู่ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล อภิปราย และแบ่งหน้าที่ ร่วมกันทำงานต่าง ๆ
ขั้นสร้างสรรค์นวัตกรรม
และเผยแพร่สู่สาธารณะ
(ขั้นประยุกต์ใช้)
นักเรียนรู้จักวางแผน ปฏิบัติตามแผน ค้นคว้า ทดลอง หาความรู้ใหม่ ๆ นำมาประยุกต์ใช้ในนชีวิตประจำวันและสถานการณ์ต่าง ๆ
1.4 การสร้างและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
1.4 การสร้างและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
ส่งเสริมให้เด็กฝึกใช้เทคโนโลยี
ในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
ส่งการบ้านโดยการอัดคลิป นำเสนอ
ผ่านเว็บไซต์ padlet
สรุปความรู้เป็นแผนผังความคิด
นวัตกรรมนิทานหน้าเดียว
1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้
มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การสังเกต
การสัมภาษณ์
การตรวจผลงาน
การทดสอบ
1.6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
ข้าพเจ้าได้สรุปวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสารสนเทศ เพื่อใช้ในการออกแบบ วางแผน และนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ผลการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียน
การอ่าน ระดับดีมาก ร้อยละ 25 ระดับดี ร้อยละ 50 และระดับพอใช้ร้อยละ 25
การเขียน ระดับดีมาก ร้อยละ 25 ระดับดี ร้อยละ 75
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 100
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564
มีสมรถถนะที่สำคัญตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 100
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565
คัดกรองนักเรียนในระบบวัดแววความสามารถพิเศษ เพื่อนำข้อมูลสรุปสารสนเทศมาใช้พัฒนานักเรียน
1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และจัดบรรยากาศห้องเรียนให้ได้มาตรฐานห้องเรียนคุณภาพตามที่ สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 กำหนด
ทักษะการอ่าน การเขียน
ทักษะของคนดี
ทักษะสมองขั้นสูง
1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
มีการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน อาทิ กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมเขตรับผิดชอบ โครงการโรงเรียนคุณธรรม ระดับ 2 ดาว โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน กิจกรรมต้านทุจริต ฯ
สรุปข้อมูลสารสนเทศ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564
■ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์…อยู่ในระดับดีร้อยละ 100
■ ซื่อสัตย์ สุจริต อยู่ในระดับดีร้อยละ 100
■ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน อยู่ในระดับดีร้อยละ 100
■ อยู่อย่างพอเพียง อยู่ในระดับดีร้อยละ 100
■ มุ่งมั่นในการทำงาน อยู่ในระดับดีร้อยละ 100
■ รักความเป็นไทย อยู่ในระดับดีร้อยละ 100
■ มีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับดีร้อยละ 100
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
จัดทําเอกสารธุรการในชั้นเรียนให้เป็นปัจจุบัน สามารถนําออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ผู้เรียนทุกคนมีข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจุบัน
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
■ มีการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อคัดกรองนักเรียน วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล สร้างเครือข่ายผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยสื่อสารผ่านกลุ่มไลน์ มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคล และประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน เผยแพร่ผลงานผู้เรียนต่อผู้ปกครอง เพื่อการวางแผนพัฒนาผู้เรียนร่วมกันโดยการใช้แอพพลิเคชั่น line ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่ตรงตามความต้องการรายบุคคลและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา
ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ รับผิดชอบโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ปฏิบัติงานบริหารงานบุคคล และงานพัสดุ
โครงการที่ได้รับมอบหมาย
โครงการที่ได้รับมอบหมาย
ปีการศึกษา 2564 (เทอม 2)
ปีการศึกษา 2565
■ เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
■ พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
■ เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
■ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
■ เยาวชนไทยสุขภาพจิตดี (ดนตรีไทย)
■ พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
■ การพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ
■ กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง
■ กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
■ กิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครองผ่านไลน์กลุ่ม
■ ร่วมกิจกรรมกับ อบต.คลองเปรง
■ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับ รร.ใน ต.คลองเปรง
■ ขอความอนุเคราะห์ทุนการศึกษา ของขวัญ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
มีการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน และพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนของเด็กนักเรียนเรียนรวม
3.2 การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
กิจกรรม PLC
ทั้งในและนอกโรงเรียน
วิทยากรสัมนาวิชาการ
ครูไทย Active สอนภาษาไทยสร้างสรรค์ก้าวทันเทคโนโลยี
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ได้แนวทางแก้ไขปัญหาในการเรียน ได้เหมาะสม โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้รับการพัฒนาจากสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูได้พัฒนาขึ้น และนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนได้รับการแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาทางการเรียนรู้และปัญหาอื่นๆ ที่พบเห็นอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น
แนวทางการเก็บผลงานครู นักเรียน
การสร้างคลิปวิดีทัศน์ และใบความรู้
สื่อการสอน
จัดทำแผนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
จากการสังเกตผู้เรียนพบว่านักเรียนมีปัญหาทักษะการเขียนเรียงความ เขียนเรื่องตามจินตนาการ ไม่ครบจำนวนบรรทัดที่กำหนดตามเกณฑ์ ผู้สอนได้วิเคราะห์เพิ่มเติมจากการทดสอบการเขียนเรียงความและจากกิจกรรมการแข่งขันตามโครงการวิชาการต่าง ๆ ของโรงเรียน พบปัญหาคือประโยคที่ผู้เรียนใช้เขียนส่วนใหญ่เป็นประโยคสั้น ๆ ไม่สามารถอธิบายขยายเพิ่มเติมได้ ซึ่งการแต่งประโยคที่มีคำวิเศษณ์เป็นส่วนขยายเป็นพื้นฐานที่สำคัญ หากสามารถแก้ปัญหานี้ได้ จะส่งผลต่อยอดเพื่อไปพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความ และการสื่อสารที่ดีและถูกต้องได้เป็นลำดับต่อไป
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผน ที่มีวิธีการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) รูปแบบใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่อง คำวิเศษณ์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานที่ครูและนักเรียนร่วมกันพัฒนาขึ้น มีผลพัฒนาทักษะการแต่งประโยคที่มีส่วนขยายสูงขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3.2 เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนมีทักษะการแต่งประโยคที่มีคำวิเศษณ์ได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดเขียนเรียงความ แต่งนิทาน หรือเขียนเรื่องจากภาพได้ในวิชาภาษาไทยและกิจกรรมการแข่งขันวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการสื่อสารที่ดีในชีวิตประจำวัน
๔. สรุปผลการดําเนินงาน
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้สื่อการสอน จัดการเรียนรู้แบบเชิกรุก Active Learning เรื่องคำวิเศษณ์ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำวิเศษณ์สูงขึ้น ร้อยละ 75.00 ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดทำนิทานหน้าเดียวรวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจําวันได้ดีขึ้น